บันทึกการเรียน ครั้งที่4
วันพุธ ที่7 กุมภาพันธ์ 2561
เนื้อหา
การนำเสนอคำคมทางการบริหาร โดย นางสาวสุริยาพร กลั่นบิดา
การนำเสนอคำคมทางการบริหาร โดย นางสาวสุวนันท์ สายสุด
การนำเสนอคำคมทางการบริหาร โดย นางสาวเรณุกา บุญประเสริฐ
การนำเสนอรูปแบบของสถานศึกษา
กลุ่มที่1 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
ก่อน พ.ศ. 2482 การอนุบาลศึกษาของไทยยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เพราะมี
โรงเรียนเอกชนเพียง 2 แห่ง ที่จัดสอนระดับชั้นอนุบาล คือ โรงเรียนมาแตร์เดอี
และ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย แต่ก็ยังไม่ได้สอนเต็มรูปแบบ การจัดการศึกษาระดับอนุบาลของมาดามมอนเตสเซอรี่
เน้นเพียงการให้เด็กร้องเพลง เล่น และ แสดงภาพประกอบตัวอักษรเท่านั้น
ตลอดระยะเวลากว่า 68 ปี
ที่โรงเรียนอนุบาล สาธิตละอออุทิศ ได้ก่อตั้งมาได้มีการพัฒนามาโดยตลอด
จนกระทั่งเป็นโรงเรียนสาธิตละอออุทิศในปัจจุบัน ผ่านการพัฒนามาอย่าง ไม่หยุดนิ่งทั้งรูปแบบการบริหารจัดการ
และวิชาการ จนเป็นต้นแบบของการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย รวมทั้งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ซึ่งในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาโลกที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยมากขึ้น
ด้วยเหตุผลที่ว่า หากเด็กได้รับการพัฒนาให้มีพัฒนาการอย่างสมดุล ในทุกด้านจะเป็นการนำไปสู่
การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน และป้องกันปัญหาสังคมได้ในระยะยาว
โรงเรียนสาธิตละอออุทิศซึ่งตระหนักในความสำคัญส่วนนี้
จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้เด็กปฐมวัย สามารถพัฒนาตนเองอย่างสมดุลในทุกด้าน
โดยเฉพาะการปลูกฝังให้เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมสามารถอยู่ร่วมในสังคม ได้อย่างมีความสุข
ขณะเดียวกัน โรงเรียนสาธิตละอออุทิศก็ยังเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการของโรงเรียนให้มากยิ่งขึ้นเพื่อรักษา ความเป็นต้นแบบ
การศึกษาปฐมวัย ที่จะสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้แก่สถานศึกษาระดับปฐมวัยอื่นๆ
ในการเข้ามาศึกษาและ ให้เป็นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับสถานศึกษานั้นๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย
ในระดับภาพกว้างที่ขยายออกไป
ในระดับภาพกว้างที่ขยายออกไป
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ พัฒนาการและความคาดหวังของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
ที่จะยังคงรักษาเจตนารมณ์ของการก่อตั้ง
โรงเรียนอนุบาลของรัฐ เมื่อ 68 ปีก่อน
ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาการศึกษา ให้มีความทันสมัย มีคุณภาพและมาตรฐานที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเพื่อการปูพื้นฐานของการพัฒนาเด็กไทย
ให้เป็นคนดีและคนเก่งของประเทศต่อไป
กลุ่มที่2 โรงเรียนแสนสุข
ระดับที่เปิดสอน
- ระดับเนอสเซอรี่ อายุ 1.10 ปี -2 ปี
- อนุบาล อายุ 3-5 ปี
- ประถมศึกษา
- มัธยมศึกษาตอนต้น
- มัธยมศึกษาตอนปลาย
ระยะเวลาเรียน
ใน 1 ปีการศึกษามี 2 ภาคเรียน คือภาคต้น เดือนพฤษภาคม – เดือนกันยายน
ภาคปลาย เดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคม
เวลาเรียนระหว่าง เวลา 08.00 น. – 16.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์
** สำหรับช่วงปิดภาคเรียน จะมีการเปิดสอนเสริม ดังนี้
ช่วงปิดเทอมต้น เดือนตุลาคม October Course
ช่วงปิดเทอมปลาย เดือนเมษายน Summer Course
ภาคปลาย เดือนพฤศจิกายน – เดือนมีนาคม
เวลาเรียนระหว่าง เวลา 08.00 น. – 16.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์
** สำหรับช่วงปิดภาคเรียน จะมีการเปิดสอนเสริม ดังนี้
ช่วงปิดเทอมต้น เดือนตุลาคม October Course
ช่วงปิดเทอมปลาย เดือนเมษายน Summer Course
กลุ่มที่3 Brain school
รู้จักเบรนสคูล
- Brainschoolเป็นหลักสูตรพัฒนาทักษะการคิดเชิงเหตุผล (Critical
Thinking)และการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) สำหรับเด็กอายุ
1-8ปี
- Brainschool เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ
มุ่งสร้างความก้าวหน้าทางพัฒนาการเด็กในทุกด้านได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา
และสังคมวิทยาศาสตร์
- Brainschool สอนผ่านกิจกรรมกว่า2,000กิจกรรมที่ได้รับการวิจัยจากนักวิชาการทางด้านเด็กเล็กกว่า40ท่านทำให้มีความต่อเนื่อง
เป็นระบบ และได้ผลจริง
- ครูผู้สอนทุกท่านได้รับการฝึกอบรมหลักสูตร Creative
Teaching Method จาก Hansol Education ทำให้มีความเข้าใจในบทเรียนและมีจิตวิทยาในการสอนเด็กเป็นอย่างดี
จุดเด่น
• หลักสูตรการเรียนการสอนที่ได้รับการค้นคว้าและวิจัยว่าเหมาะสมกับพัฒนาการทางการคิดของเด็กแต่ละช่วงวัย
• กิจกรรมที่หลากหลายกว่า2,000กิจกรรมที่มีความต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ
• สื่อการเรียนการสอนของจริงที่เป็นรูปธรรมซึ่งทำให้เด็กในวัยนี้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
• วิธีการสอนที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของเบรนสคูลที่เปิดโอกาสให้เด็กๆได้แสดงศักยภาพทางการคิดอย่างเต็มที่
• ครูผู้สอนที่ผ่านการฝึกอบรมและมีจิตวิทยาในการสอนอย่างแท้จริง
• การแบ่งกลุ่มย่อยตามพัฒนาการของเด็กโดยเด็กในแต่ละกลุ่มจะมีอายุห่างกันไม่เกินหกเดือน
• การเรียนการสอนกลุ่มเล็กกลุ่มละเพียง4-6คนเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปได้อย่างทั่วถึง
• มีการให้ข้อมูลหลังการสอนอย่างเป็นระบบ
• กิจกรรมที่หลากหลายกว่า2,000กิจกรรมที่มีความต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ
• สื่อการเรียนการสอนของจริงที่เป็นรูปธรรมซึ่งทำให้เด็กในวัยนี้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
• วิธีการสอนที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของเบรนสคูลที่เปิดโอกาสให้เด็กๆได้แสดงศักยภาพทางการคิดอย่างเต็มที่
• ครูผู้สอนที่ผ่านการฝึกอบรมและมีจิตวิทยาในการสอนอย่างแท้จริง
• การแบ่งกลุ่มย่อยตามพัฒนาการของเด็กโดยเด็กในแต่ละกลุ่มจะมีอายุห่างกันไม่เกินหกเดือน
• การเรียนการสอนกลุ่มเล็กกลุ่มละเพียง4-6คนเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปได้อย่างทั่วถึง
• มีการให้ข้อมูลหลังการสอนอย่างเป็นระบบ
กลุ่มที่4 บ้านคุณปู่ เนอสเซอรี่

สถานรับเลี้ยงเด็ก บ้านคุณปู่ เนอสเซอรี่
ให้บริการเนอสเซอรี่และรับเลี้ยงเด็กแรกเกิด ถึงก่อนวัย
เรียน เราเน้นการให้ความรักความอบอุ่น
จากการกอดการสัมผัสกับเด็กซึ่งเด็กเล็กจะสัมผัสได้ถึง ความ
รักอย่างรวดเร็ว บ้านคุณปู่
เนอสเซอรี่ ใช้ระบบการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กโดยเน้นการใช้กิจกรรมเสริม
ทักษะในด้านต่างๆโดยเฉพาะกิจกรรมด้านศิลปะที่จะช่วยพัฒนาสมองของเด็ก
อีกทั้งยังมีเครื่องเล่นที่ทัน
สมัย
ปลอดภัยและสามารถพัฒนาทักษะและเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กๆได้อย่างต่อเนื่องสมวัย
โดยบ้านคุณปู่เนอสเซอรี่ เน้นเรื่องของการเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียน
ซึ่่งเด็กๆแต่ละคน
ก็จะมีความพร้อม
ความถนัด ความสนใจ ความชอบ หรือแม้แต่ความมีสมาธิ ที่จะเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ
ที่แตกต่างกัน
ดังนั้นเรามีหน้าที่ที่จะฝึกฝนเด็กๆให้มีความพร้อมในทุกๆเรื่องก่อนที่เด็กๆจะต้องเข้าไป
ศึกษาในสถานศึกษาในระดับสูงต่อไป
รูปแบบการเรียนการสอน
ทั้งนี้เด็กๆจะได้มีส่วนร่วมและสนอความคิดในเรื่องต่างๆและได้ร่วมเสริมสร้างจินตนาการผ่านการทำ
ศิลปะและ
สิ่งประดิษฐ์ เพื่อเสริมสร้างจินตนาการและการต่อยอดทางความคิด
ความกล้าแสดงออกเรามี
ห้องยิมที่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆเพื่อฝึกพัฒนาการของกล้ามเนื้อ
แขน ขา ของเด็กๆ อย่างเต็มที่ ทั้งนี้
เด็กๆยังได้ฝึกการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
การแบ่งปัน การฝึกให้พี่ที่โตกว่าได้ช่วยเหลือเด็กๆหรือน้องๆที่เด็กหรือ
เล็กกว่า
โดยเด็กๆจะได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่ายและพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ
กลุ่มที่5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลร้อยเอ็ด
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ประสบผลสำเร็จจัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากสถานศึกษาต้นแบบ โรงเรียนอนุบาลกรแก้ว
กทม. ได้รับรางวัลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดีเด่นขนาดใหญ่
ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
และรางวัลศูนย์ต้นแบบของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นระดับประเทศตามโครงการของ
สสส. 1 ใน 14 แห่งทั่วประเทศ
ประจำปีการศึกษา 2552
การจัดการเรียนรู้
หลักสูตรของการสอนแบบมอนเตสซอรี่ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กิจกรรมในกลุ่มประสบการณ์ชีวิต มีวัตถุประสงค์ในการฝึกเด็กให้มีระเบียบวินัย
มีสมาธิเป็นของตัวเอง สามารถตัดสินเองได้ เรียนรู้กระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ
ฝึกตา-มือ ประสานสัมพันธ์ เป็นการปูพื้นฐานในการเรียนต่อไป, กิจกรรมในกลุ่มประสาทสัมผัสชีวิต
มีวัตถุประสงค์ในการฝึกประสาทสัมผัส อุปกรณ์ต่างๆ ในกลุ่มนี้
จะช่วยนำทางให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสให้สัมผัสกันได้อย่างเหมาะสม
เด็กจะได้สรวจเพื่อค้นหาและทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
เป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้โลกภายนอก, และกิจกรรมกลุ่มวิชาการ
(คณิตศาสตร์ และภาษา) เพื่อปูพื้นฐาน ความรู้ให้กับเด็กเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข
การอ่าน และการเขียน
โดยโกจะได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจากรูปธรรมสู่นามธรรม
โดยใช้อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่เป็นสื่อ ห้องเรียนมอนเตสซอรี่
จะจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ
ในขณะเดียวกันเด็กจะรู้สึกสบายใจและรู้สึกเป็นธรรมชาติมากที่สุด
อุปกรณ์จะไม่มีสีที่ฉูดฉาด และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์สะอาด
พร้อมนำออกมาปฏิบัติได้ตลอดเวลา
การจัดห้องเรียน อาคารด้านหน้า เป็นเด็กเล็ก มี 2 ห้องเรียน คือห้องมอนเตสซอรี่ ห้องวัฒนธรรม ห้องกิจกรรมรวม และอาคารด้านหลัง มี 4 ห้อง คือห้องรับประทานอาหาร ห้องศิลปะ ห้องมอนเตสซอรี่ และห้องเสริมประสบการณ์
ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด บุคลากรทั้งหมด 14 คน นักเรียนทั้งหมด 150 คน แยกเป็น 2 ช่วงอายุ คือ เด็กอายุระหว่าง 2 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี จำนวน 43 คน เด็กอายุระหว่าง 3 ปี ถึง 4 ปี จำนวน 107 คน มีเป้าหมายจะเปิดระดับอนุบาล 2 ช่วงอายุ 4-5 ปี 1 ห้อง จำนวน 20 คน ในปีการศึกษา 2553 นี้ มีนางศุภจารี วงศ์พรหม นักวิชาการศึกษา เป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด.
การจัดห้องเรียน อาคารด้านหน้า เป็นเด็กเล็ก มี 2 ห้องเรียน คือห้องมอนเตสซอรี่ ห้องวัฒนธรรม ห้องกิจกรรมรวม และอาคารด้านหลัง มี 4 ห้อง คือห้องรับประทานอาหาร ห้องศิลปะ ห้องมอนเตสซอรี่ และห้องเสริมประสบการณ์
ปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด บุคลากรทั้งหมด 14 คน นักเรียนทั้งหมด 150 คน แยกเป็น 2 ช่วงอายุ คือ เด็กอายุระหว่าง 2 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี จำนวน 43 คน เด็กอายุระหว่าง 3 ปี ถึง 4 ปี จำนวน 107 คน มีเป้าหมายจะเปิดระดับอนุบาล 2 ช่วงอายุ 4-5 ปี 1 ห้อง จำนวน 20 คน ในปีการศึกษา 2553 นี้ มีนางศุภจารี วงศ์พรหม นักวิชาการศึกษา เป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด.
กลุ่มที่6 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดโปรดเกศเษฐาราม
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดโปรดเกศเชษฐาราม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘
มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๖ ตามนโยบายของรัฐบาลสมัยนั้น
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เด็กเล็กที่ยังอายุยังไม่ถึงเกณฑ์เข้าเรียน
ได้เข้ามาใกล้ชิดกับพระศาสนาโดยมีพระและวัดเป็นผู้ดูแลจัดการ เพื่อปลูกฝังคุณธรรมเบื้องต้นให้กับเด็ก
และรับเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้ผู้ปกครองออกไปปประกอบอาชีพได้อย่างไม่ต้องมีห่วงกับบุตรธิดา
เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองได้อีกส่วนหนึ่ง
ปีที่เปิดเรียน
ได้ใช้ศาลาการเปรียญด้านนอกเป็นห้องเรียน มีนักเรียน ๒๕ คน ครู ๒ คน คือ นางอาภา
โกวัฒนะชัยและนางคงทรัพย์ ชาวปทุม เป็นผู้ช่วย
วัดเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือนครู และจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน
เช่นม้านั่ง โต๊ะเรียน เป็นต้น สำหรับอาหารกลางวัน นักเรียนต้องนำมาเอง
อาหารนมยังไม่มีให้ เสื้อผ้าได้รับการช่วยเหลือจากผู้มีศรัทธาและใจบุญ ปีแรกนี้
รัฐบาลไม่ได้ให้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
การเปิดเรียนปีแรก นับว่าขลุกขลักมาก
เพราะนอกจากจะเป็นของใหม่แล้ว ยังไม่มีผู้ชำนาญงานคอยให้คำแนะนำ
การเรียนการสอนจึงเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก (nursery) การเรียนก็ไม่สม่ำเสมอ เวลาวัดมีงานต้องใช้ศาลา
โรงเรียนก็ต้องหยุดเรียน ที่นอนก็ใช้ผ้าปูกับพื้นศาลา
พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นปีที่เศรษฐกิจของประเทศเกิดวิกฤติ
การช่วยเหลือจากมูลนิธิฯงดหมดทุกรายการ
ศูนย์ฯต้องดำเนินการจัดเก็บค่าบำรุงจากผู้ปกครองปีละ ๓,๐๐๐ บาท (สามพันบาทถ้วน)
และสามารถที่จะแบ่งชำระได้เป็นรายเดือนหรือเป็นครั้งคราว
รวมแล้วครบจำนวนเท่าที่กำหนด ถือว่าชำระครบแล้ว
สำหรับชุดนักเรียนผู้ปกครองต้องซื้อเอง
การดำเนินนโยบายขอรับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง
ทำให้การบริหารจัดการของศูนย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะมีเงินทุนที่จะจัดการบริหารทั้งด้านการเรียนการสอนและการจัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ต้องการใช้ได้สะดวกขึ้น
ทำให้ศูนย์สามารถพัฒนาได้ในทุก ๆ ด้าน ห้องเรียนเพิ่มเป็น
๖ ห้องเรียน ครูเพิ่มขึ้น เป็น ๑๓ คน
พ.ศ.๒๕๔๖
ศูนย์ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ครั้งแรก
อ.บ.ต.ทรงคนองช่วยจ่ายเงินเดือนครูให้ส่วนหนึ่ง รวมทั้งค่าอาหารค่านม ปี ๒๕๕๐
อ.บ.ต.ทรงคนอง ถ่ายโอนครูไปสังกัดเป็นลูกจ้างของ อ.บ.ต.ทรงคนองทั้งหมด แต่ศูนย์ฯ
ก็ยังจ่ายเงินเดือนอีกส่วนหนึ่งแก่ครูจากส่วนที่ขาดจาก อ.บ.ต.ให้
จากสถิติปีพ.ศ.๒๕๕๗ มีนักเรียน ๒๙๗ คน ครู ๑๖ คน
ความรู้ที่ได้รับ
สถานศึกษามีหลากหลายรูปแบบที่เหมือนและแตกต่ากันออกไป ผู้บริหารควพัฒนาสถานศึกษาให้สอดคล้องกับวุตถุประสงค์ของแต่ละสถานศึกษา ให้ถูกต้องและเหมาะสม บางสถานศึกษาเน้นภาษาต่างประเทศ บางสถานศึกษาเน้นการเรียนการอยู่ร่วมกัน ซึ่งมีข้อดีเฉพาะของแต่ละแห่ง
ประเมินอาจารย์ : มีวิธีการอธิบายอย่างเข้าใจง่าย พร้อมยกตัวอย่างประกอบสถานการณ์
ประเมินเพื่อน : มีความพร้อมในการมาเรียน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังขณะอาจารย์สอน และไม่คุยกับเพื่อนเสียงดังรบกวนอาจารย์และเพื่อนคนอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น